วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554

เทคโนโลยี 4G


เทคโนโลยี 4G ( Forth Generation )
?เทคโนโลยี 4จี เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ หรือเป็นเส้นทางด่วนสำหรับข้อมูลที่ไม่ต้องอาศัยการลากสายเคเบิล โดยระบบเครือข่ายใหม่นี้ จะสามารถใช้งานได้แบบไร้สาย รวมถึงคุณสมบัติการเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ (three-dimensional) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง นอกจากนั้น สถานีฐาน ซึ่งทำหน้าที่ในการส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง และมีต้นทุนการติดตั้งที่แพงลิ่วในขณะนี้ จะมีให้เห็นกันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับหลอดไฟฟ้าตามบ้านเลยทีเดียว สำหรับ 4จี จะสามารถส่งผ่านข้อมูลแบบไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงที่เพิ่มขึ้นถึง 100 เมกะไบต์ต่อวินาที ซึ่งห่างจากความเร็วของชุดอุปกรณ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่ระดับ 10 กิโลบิตต่อวินาที
ลักษณะเด่นของ 4G
?4G คือ Forth Generation ซึ่งในบ้านเรายังไม่มีให้เห็นกัน? เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีสื่อสารในยุค 4G? เรื่องความเร็วนั้นเหนือกว่า 3G มาก? คือทำความเร็วในการสื่อสารได้ถึงระดับ 20-40 Mbps? เมื่อเทียบกับความเร็วที่ได้จาก 3G นั้นคนละเรื่องกันเลย? ที่ญี่ปุ่นนั้นเครือข่ายโทรศัพท์ที่ใช้เทคโนโลยี 4G สามารถให้บริการรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านมือถือได้แล้ว? หรือจะโหลดตัวอย่างภาพยนตร์มาชมบนโทรศัพท์มือถือก็มีให้เห็นเช่นกัน? ทำไมญี่ปุ่นถึงรีบกระโดดไปสู่ยุค 4G? กันเร็วเหลือเกิน คำตอบง่าย ๆ ก็คือ ?ดิจิตอลคอนเทนต์? เป็นตัวผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นนั่นเอง? เมื่อผู้ให้บริการหลายหลายรูปแบบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต? โดยจำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายที่มีความเร็วสูง? สามารถรับส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก ๆ? ดังนั้น? การผลักดันตัวเองให้เข้าสู่ยุค 4G ที่ใช้เทคโนโลยีที่เหนือกว่า? 3G ก่อนคู่แข่ง? น่าจะเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องที่สุด
ความโดดเด่นของ 4G คือ ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานบนเครือข่ายที่กินพื้นที่กว้างก็ได้หรือจะทำเป็นเครือข่ายขนาดย่อม ๆ แบบ WLAN ได้อีกด้วย? นั่นจึงทำให้หลายคนมองว่า 4G จะมาเบียดเทคโนโลยีของ Wi-Fi หรือไม่? เพราะสามารถใช้งานได้ทั้งสองแบบ?
อย่างไรก็ตามในประเทศไทยยังคงอิงกับมาตรฐานของ 3G อยู่ ซึ่งยังไม่มีทีท่าว่าจะขยับขยายไปสู่ยุค 4G เลย? เพราะว่า Wimax กำลังเข้ามานั่นเอง? ระบบสื่อสารแห่งอนาคตที่ให้ความยืดหยุ่นสูง? สามารถครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างไกล? ความเร็วในการสื่อสารสูงสุดในขณะนี้
?ในเมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ทำไมไม่รวมเทคโนโลยี 3G กับ WiMAX เข้าด้วยกัน และพัฒนาให้เป็น ?interim 4G? หรือ ?4G เฉพาะกิจ? เพื่อไปเร่งพัฒนา ?4G ตัวจริง? (Real 4G) กันออกมาไม่ดีกว่าหรือ จึงเป็นเสียงที่คิดดังๆจากหลายกลุ่มในปัจจุบัน
แน่นอนที่ว่า คงจะไม่ใช่แนวคิดของ 4G ที่หลายฝ่ายตั้งความหวังไว้ เพราะอย่างน้อยที่เห็นได้ชัดเจนอย่างหนึ่งคือ เทคโนโลยีทั้งสองยังไม่สามารถรองรับความเร็วในการสื่อสารข้อมูลที่ดาวน์ลิงค์/อัพลิงค์ (downlink/uplink) ขณะกำลังเคลื่อนที่ในกรณีของ GSM ที่ 100 mbps/50 mbps และกรณี CDMA ที่ต้องการให้เหนือกว่า GSM โดยจะให้มีความเร็วเป็น 129 mbps/75.6 mbps
ทำไมจึงอยากได้ 4G
เป็นคำถามที่น่าสนใจ มีเหตุผลอะไรจึงอยากได้เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคที่ 4 หรือ 4G กันมาก ถ้าจะสรุปเป็นคำตอบก็คงจะได้หลายประการด้วยกัน ซึ่งจะกล่าวถึงพอเป็นสังเขปดังนี้
1. สนับสนุนการให้บริการมัลติมีเดียในลักษณะที่สามารถโต้ตอบได้ เช่น อินเทอร์เน็ตไร้สาย และ เทเลคอนเฟอเรนซ์? เป็นต้น
2. มีแบนด์วิทกว้างกว่า? สามารถรับ-ส่งข้อมูลด้วยอัตราความเร็ว (bit rate) สูงกว่า 3G
3. ใช้งานได้ทั่วโลก (global mobility) และ service portability
4. ค่าใช้จ่ายถูกลง
5. คุ้มค่าต่อการลงทุนด้านโครงข่าย
?
พัฒนาการของ 4G สำหรับมาตรฐานต่างๆ
??????????? หากพิจารณาในบริบทของมาตรฐานเทคโนโลยีระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูลาร์แบบดิจิทัลที่ใช้งานกันอยู่ในขณะนี้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ค่ายใหญ่ๆ คือ จีเอสเอ็ม (GSM) และ ซีดีเอ็มเอ (CDMA) แล้วสามารถสรุปเป็นตารางเปรียบเทียบลำดับพัฒนาการของมาตรฐานได้ดังตารางข้างล่างนี้
ในการพัฒนาเทคโนโลยี 4G ของ GSM กับ CDMA นั้น ยังคงแข่งขันกันอยู่ต่อไป กล่าวคือ
GSM จะพัฒนาสู่ 4G โดยใช้รูปแบบการเข้าถึง (access type) เป็น UMTS LTE (Universal Mobile Telephone System ? Long term Evaluation) คาดหมายว่า จะสามารถทำความเร็วในการดาวน์ลิงค์ / อัพลิงค์ได้ที่ 100 mbps / 50 mbps
ในขณะที่ CDMA ใช้รูปแบบการเข้าถึงเป็น CDMA EV-DO Rev.C (กล่าวคือ เป็น UMB หรือ Ultra-mobile broadband) และมีความเร็วในการดาวน์ลิงค์ / อัพลิงค์ที่ 129 mbps / 75.6 mbps
ตัวเลขความเร็วของทั้งสองค่ายจะเป็นราคาคุยหรือไม่คงต้องติดตามผลกันต่อไป
?
หาก 4G จะเกิดจากการรวม WiMax เข้ากับ 3G
????????? ท่ามกลางกระแสการแข่งขันระหว่างเทคโนโลยี 3G ที่กำลังถูกเทคโนโลยีใหม่อย่างไวแมกซ์ (WiMAX) เข้ามาตีเสมอ และในอนาคตมีแนวโน้มว่าจะมีโอกาสมาเหนือกว่า 3G อีกด้วย?
นักวิเคราะห์และผู้เกี่ยวข้องในวงการโทรคมนาคมหลายกลุ่ม กล่าวกันถึงขนาดที่ว่า ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เซลลูลาร์ของหลายประเทศที่ปัจจุบันครองตลาดส่วนใหญ่ของประเทศหรือมีอำนาจเหนือตลาดคงจะไม่ยอมให้บริการไวแมกซ์เกิดขึ้นในตลาดได้ง่ายๆ? ประกอบกับบางประเทศยังมีปัญหาต่างๆที่เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการไวแมกซ์ เช่น แผนเลขหมายแห่งชาติที่มีการจัดสรรความถี่ให้กับบริการไวแมกซ์? กฎ ระเบียบในการกำกับดูแลเพื่อให้เกิดความเรียบร้อยและมีการแข่งขันที่เป็นธรรม ?และความพร้อมในการลงทุนของผู้ให้บริการ เป็นต้น
หากจะรวมกันจริงๆแล้ว หลายฝ่ายยังมีความเชื่อว่า 3G คงจะไม่ถึงกับไปรวมอยู่ใต้เทคโนโลยีที่เป็นหนึ่งเดียว ?เนื่องจาก 4G ควรจะเป็นเทคโนโลยีที่สามารถเข้าถึงได้ที่ระดับความเร็วอิเธอร์เน็ต (เช่น 10 Mbps) และใช้งานร่วมกัน (integrated) ได้ทั้งในลักษณะที่เป็นเครือข่ายท้องถิ่นหรือแลน (LAN ? local area network) กับแวน (WAN ? wide area network) แบบไร้สาย ด้วยการรวมเทคโนโลยี 3G และ WiMAX เข้าด้วยกันในเครื่องเดียวกัน
โดยมาตรฐานของ WiMax หรือ 802.16 สามารถให้บริการด้านบรอดแบนด์ไร้สายได้ไกลถึง 30 ไมล์ด้วยความเร็วประมาณ 10 Mbps
?สิ่งที่ยังเป็นปัญหาอยู่สำหรับบริการ WiMAX มีหลายประการที่ต้องมีการพัฒนาต่อไปจากที่สามารถแก้ปัญหาบางอย่างได้ในระดับหนึ่งแล้ว เช่น ตัวมาตรฐานเองที่ยังไม่ค่อยนิ่งเท่าใดนัก การพัฒนาอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องของโครงข่าย (ซึ่งรวมถึงตัวเครื่องลูกข่ายด้วย)? การเคลื่อนที่ของลูกข่ายจากสถานีฐานหนึ่งไปยังอีกสถานีฐานหนึ่งโดยไม่มีปัญหาสายหลุดหรืออาการสัญญาณสะดุด เป็นต้น
จึงเป็นที่เชื่อได้ว่าในขณะนี้คงต้องรอให้มาตรฐานเทคโนโลยี WiMAX ผ่านกระบวนการพัฒนาจนถึงขั้นเป็นมาตรฐานที่สมบูรณ์ (mature) แล้ว อาจเป็นไปได้ที่จะมีความพยายามนำเทคโนโลยี 3G และ WiMAX มาผสมผสานกันเป็น 4G หากกลุ่มที่พัฒนา 4G ไม่รีบชิงพัฒนา 4G หนีการรวมตัวกับ WiMAX ไปเสียก่อน

วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาของ Android


ความหมายของ Android
แอนดรอยด์ (อังกฤษ: android) คือ หุ่นยนต์ที่สร้างขึ้นมาเลียนแบบมนุษย์ โดยปกติแล้วทั้งทางด้านกายภาพและพฤติกรรม คำนี้ผันมาจากคำกรีก andr- หมายถึง "มนุษย์, เพศชาย" และปัจจัยเสริมท้าย -eides ซึ่งเคยมีความหมายว่า "ในสปีชีส์ของ, เหมือนกับ" (จากคำว่า eidos หมายถึง "สปีชีส์")

คำว่า "ดรอยด์" ซึ่งหมายถึงหุ่นยนต์ในเรื่อง สตาร์ วอร์ส ก็ผันมาจากความหมายนี้. จนถึงขณะนี้ แอนดรอยด์ยังคงมีอยู่แต่ในนิยายวิทยาศาสตร์ บ่อยครั้งในภาพยนตร์และโทรทัศน์. อย่างไรก็ตาม หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ก็มีขึ้นบ้างแล้วในขณะนี้.

พจนานุกรมภาษา อังกฤษ Webster ฉบับปี 1913 ระบุว่า "Android" เป็นได้ทั้งคำนามและคำวิเศษณ์ โดยถ้าเป็นคำนาม หมายถึง "เครื่องจักรหรือเครื่องอัตโนมัติในรูปของมนุษย์" และถ้าเป็นคำวิเศษณ์ หมายถึง "คล้ายมนุษย์"
แอนดรอยด์คืออะไร

กูเกิลแอนดรอยด์ (Google Android) คือ ระบบปฏิบัติการ ที่เป็นซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มบนมือถือ สร้างขึ้นมาจากระบบปฎิบัติการลีนุกซ์(Powered by the Linux kernel) พัฒนาขึ้นมาโดยกูเกิล กูเกิลแอนดรอยด์นั้นได้เปิดให้นักพัฒนา สามารถเข้ามาจัดการเขียนโค๊ตต่างๆ ได้ด้วยภาษาจาวา และเขียนควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ ผ่านทางจาวาไลบลารี่ที่ทางกูเกิลพัฒนาขึ้นโดยเฉพาะ (Google-developed Java libraries) โปรแกรมต่างๆ ที่รันบนกูเกิลแอนดรอย์สามารถเขียนได้ด้วยภาษาซี(C) และภาษาอื่น ส่วนการพัฒนาผ่านการคอมไพล์ด้วยสถาปัตยกรรมแบบ ARM Native Code(32bit) นั้นยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากทางกูเกิลแต่อย่างได

กูเกิลแอ นดรอดย์ ได้เปิดตัวเป็นครั้งแรกในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดยทางกูเกิลได้เปิดตัวพร้อมกับรายชื่อบริษัทที่ร่วมเป็นหุ้นส่วนด้วยทั้ง หมด 34 บริษัท และได้ออกมาให้ยนโฉมตัวจริงกันในช่วงปี 2551 ที่ผ่านมา ลิขสิทธิ์ของกูเกิลแอนดรอยนั้นจะอยู่ในลักษณะของ ฟรีซอฟต์แวร์และโอเพ็นซอร์จ โดยอยู่ภายใต้สิทธิบัตรของ ครีเอทีพ คอมมอนส์ แอทรีบิว 2.5 ซึ่งทำให้ผู้ใช้นั้นสามารถดาวโหลดซอฟต์แวร์ของกูเกิลแอนดรอดย์ไปใช้ได้ฟรี และยังสามารถนำซอฟต์แวร์ที่ได้ไปแชร์แจกต่อได้ แต่ไม่อนุญาตให้แก้ใขโดยการนำเอาชื่อผู้เขียนซอฟต์แวร์ หรือรายการสิทธิบัตรของซอฟต์แวร์นั้นออกตัวโปรแกรม...

ข้อมูลเพิ่มเติมอันเยอะแยะมากมาย เข้าไปอ่านต่อได้ที่นี่(ภาษาอังกฤษ)

การประยุกต์ใช้งาน ไอซีออปแอมป

กลับมาพบกันอีกครั้งแล้วนะครับ ซึ่งในบทความนี้ก็จะขอกล่าวถึงพื้นฐานการออกแบบวงจรด้วยอุปกรณ์ที่เรียกว่า ออปแอมป์ (Op-Amp : Operational Amplifier) นะครับ โดยเราจะเริ่มจากการศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานของออปแอมป์ ก่อนนะครับ ต่อจากนั้นก็จะขอกล่าวถึงพื้นฐานในการคำนวณของออปแอมป์ ครับ ก่อนที่จะนำพื้นฐานที่ได้ศึกษานี้ไปทำการออกแบบวงจรที่ใช้ออปแอมป์ มาเป็นส่วนประกอบของวงจรต่อไปนะครับ เพื่อที่จะทำให้ผู้ที่ได้อ่านหรือผู้ที่ได้ทำการศึกษาเกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้นนั้นเองครับ ก่อนที่จะนำไปประยุกต์ใช้งานในระดับที่สูงขึ้นต่อไปครับ… มาเริ่มจากความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวกับออปแอมป์กันเลยนะครับ..??

- ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวกับออปแอมป์ (Op-Amp)
ถ้าจะกล่าวถึงอุปกรณ์ออปแอมป์(Op-Amp)นั้น ก็สามารถที่จะอธิบายได้ดังนี้ครับ โดยอุปกรณ์ออปแอมป์นั้นจะเป็นอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งครับ ที่สร้างขึ้นมาโดยโครงสร้างภายในนั้นจะประกอบด้วยสารกึ่งตัวอยู่หลายชนิดครับ เช่น อุปกรณ์ทรานซิสเตอร์(BJT) อุปกรณ์มอสเฟต(MOSFET) อุปกรณ์ไดโอด(Diode) และยังมีตัวต้านทาน(R) โดยอุปกรณ์ทั้งหมดนี้จะถูกประกอบและต่อรวมกันที่อยู่ในรูปของวงจรรวมนั้นเองครับ ที่เรารู้จักกันดีในชื่อที่เรียกว่า ไอซี (IC : Integrated Circuit) ซึ่งวงจรรวมที่ได้นี้นะครับจะมีลักษณะของวงจรเป็นวงจรขยายสัญญาณ โดยมีอัตราการขยายแรงดันที่สูงครับ หรือที่เรียกว่า (Voltage Gain) ซึ่งเราสามารถเขียนสัญลักษณ์ของออปแอมป์ ที่แสดงถึงลักษณะโครงสร้างพื้นฐานของอุปกรณ์ออปแอมป์(Op-Amp) ดังแสดงใน รูปที่ 1


รูปที่ 1 ลักษณะโครงสร้างพื้นฐานของอุปกรณ์ออปแอมป์(Op-Amp)

จากในรูปที่ 1 จะเห็นถึงลักษณะโครงสร้างพื้นฐานของอุปกรณ์ออปแอมป์(Op-Amp) ซึ่งคุณสมบัติโดยทั่วไปของออปแอมป์นั้นจะมีคุณสมบัติพื้นฐานดังนี้ครับ คือ อินพุตอิมพีแดนซ์จะมีค่าที่สูง ,เอาต์พุตอิมพีแดนซ์จะมีค่าต่ำ และอัตราขยายแรงดันจะมีค่าที่สูงมาก นั้นเองครับ 
และถ้าดูจากลักษณะโครงสร้างพื้นฐานของอุปกรณ์ออปแอมป์(Op-Amp) นั้นจะประกอบด้วยขาที่จะนำมาใช้งานดังต่อไปนี้ครับ คือ 
- ขา Inverting ซึ่งเป็นขาอินพุตของออปแอมป์ โดยมีไว้เพื่อป้อนสัญญาณ ที่เป็นได้ทั้งสัญญาณไฟกระแสตรงและสัญญาณไฟกระแสสลับ ซึ่งสัญญาณที่ถูกป้อนเข้าไปที่ขา Inverting นี้ เราก็จะได้สัญญาณที่ตรงกันข้ามหรือกลับเฟสที่จะออกมาทางขา Output ครับ
- ขา Non-Inverting ซึ่งเป็นขาอินพุตของออปแอมป์ โดยมีไว้เพื่อป้อนสัญญาณ ที่เป็นได้ทั้งสัญญาณไฟกระแสตรงและสัญญาณไฟกระแสสลับ ซึ่งสัญญาณที่ถูกป้อนเข้าไปที่ขา Non-Inverting นี้ เราก็จะได้สัญญาณที่ไม่กลับเฟสหรืออินเฟสที่จะออกมาทางขา Output ครับ
- ขา Output ซึ่งเป็นขาเอาท์พุตของออปแอมป์ โดยมีไว้เพื่อบอกถึงสภาวะการทำงานของออปแอมป์ ซึ่งจะเกิดขึ้นจากการที่เราทำการป้อนสัญญาณเข้าที่ขาอินพุตทั้งสองของออปแอมป์ครับ
- ขา +V ซึ่งเป็นขาป้อนไฟบวก โดยจะมีค่าแรงดันไฟประมาณ 9 โวลท์ ถึง 18 โวลท์ ซึ่งโดยทั้วไปแล้วเราจะใช้แรงดันไฟประมาณ 15 โวลท์ ครับ
- ขา -V ซึ่งเป็นขาป้อนไฟลบ โดยจะมีค่าแรงดันไฟประมาณ -9 โวลท์ ถึง -18 โวลท์ ซึ่งโดยทั้วไปแล้วเราจะใช้แรงดันไฟประมาณ -15 โวลท์ ครับ

แต่ในส่วนของการที่จะนำอุปกรณ์ออปแอมป์(Op-Amp) ไปใช้งานและมีการใช้งานที่เกิดประสิทธิภาพสูงสุดนั้น เราจะต้องทำความเข้าใจในคุณสมบัติของออปแอมป์ดังต่อไปนี้ครับ คือ คุณสมบัติของออปแอมป์ในอุดมคติ ซึ่งก็สามารถที่จะเขียนวงจรสมบูรณ์ได้ดังในรูปที่ 2


รูปที่ 2 ลักษณะของวงจรสมบูรณ์ของออปแอมป์ในอุดมคติ

จากรูปที่ 2 จะเป็นลักษณะของวงจรสมบูรณ์ของออปแอมป์ในอุดมคติ ซึ่งถ้าพิจารณาดูแล้วก็จะเห็นว่าขาบวก(+) และขาลบ(-) นั้นต่อไม่ครบวงจร จึงส่งผลให้กระแส และกระแส นั้นไม่สามารถที่จะไหลออกจาก และ ได้นั้นเองครับ ซึ่งก็หมายความว่าค่าของกระแสที่ไหลเข้าขาอินพุทของออปแอมป์ทั้งสองขานั้นมีค่าเป็นศูนย์นั้นเองครับ หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือไม่มีกระแสที่ไหลเข้าที่ขาอินพุทของออปแอมป์ครับ และถ้าเราพิจารณาถึงค่าของความต้านทานที่ขาอินพุทของออปแอมป์ หรือค่าความต้านทานอินพุทก็จะพบว่ามันจะมีค่าเป็นอนันต์ครับ และในส่วนของอัตราขยายแรงดันลูปเปิด หรือที่เราเรียกว่า (Open-Loop-Gain : ) ก็จะมีค่าเป็นอนันต์ และค่าความต้านทานเอาท์พุทนั้นจะมีค่าเป็นศูนย์นั้นเองครับ ซึ่งทั้งหมดที่ได้กล่าวนี้ก็คือออปแอมป์ในอุดมคติครับ
แต่ในทางปฏิบัตินั้นมันไม่ได้เป็นไปตามคุณสมบัติของออปแอมป์ในอุดมคตินะครับ เพราะว่าเรามสามารถที่จะทำการสร้างหรือออกแบบออปแอมป์ในอุดมคติได้ แต่เราสามารถที่จะสร้างและออกแบบออปแอมป์ที่จะนำมาใช้งานจริงให้มีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกับออปแอมป์ในอุดมคติได้ครับ ซึ่งก็ได้แสดงไว้ในตารางที่ 1 โดยเป็นการเปรียบเทียบคุณสมบัติของออปแอมป์ที่จะนำมาใช้งานจริงกับออปแอมป์ในอุดมคตินั้นเองครับ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีพารามิเตอร์หลายตัวครับที่เกี่ยวข้องกับตัวอุปกรณ์ออปแอมป์ที่เราจะต้องนำไปใช้พิจารณาในการออกแบบวงจรต่อไปครับ

ตารางที่ 1 แสดงการเปรียบเทียบคุณสมบัติของออปแอมป์ที่ใช้งานจริงกับออปแอมป์ในอุดมคติ






รูปที่ 3 ลักษณะของวงจรสมบูรณ์ของออปแอมป์ในการใช้งานจริง

และจากรูปที่ 3 ก็จะเป็นลักษณะของวงจรสมบูรณ์ของออปแอมป์ในการใช้งานจริง ซึ่งถ้าพิจารณาดูแล้วก็จะเห็นว่าภายในนั้นก็จะมีตัวต้านทานทางด้านอินพุท และตัวต้านทานทางด้านเอาท์พุท ต่ออยู่ด้วยครับ ซึ่งก็จะมีค่าอยู่ค่าหนึ่งครับ โดยที่ออปแอมป์แต่ละเบอร์นั้นก็จะมีค่าดังกล่าวนี้แตกต่างกันไปครับ ดังเช่นที่ได้แสดงการเปรียบเทียบคุณสมบัติของออปแอมป์ที่ใช้งานจริงกับออปแอมป์ในอุดมคติ ไว้ในตารางที่ 1 นั้นเองครับ
เป็นอย่างไรบ้างครับพอที่จะเข้าใจถึงอุปกรณ์ออปแอมป์(Op-Amp) มากขึ้นแล้วนะครับ ทีนี้มาดูกันต่อนะครับกับอุปกรณ์ออปแอมป์(Op-Amp) ซึ่งจะเป็นการกล่าวถึงวงจรสมมูลของ ออปแอมป์ หรือเรียกว่า Equivalent Op-Amp Circuit ครับ ซึ่งก็ได้แสดงไว้ในรูปที่ 3 ซึ่งเราสามารถที่จะเขียนสมการของแรงดันระหว่างขาอินพุท ได้ ดังแสดงในสมการที่ 1

………(1)

และในส่วนของสมการของแรงดันเอาท์พุท ก็สามารถที่จะเขียนสมการนี้ได้ครับ ดังแสดงในสมการที่ 2

………(2)

โดยที่ คือ อัตราขยายแรงดันลูปเปิด


รูปที่ 4 กราฟแสดงช่วงการทำงานของออปแอมป์

จากรูปที่ 4 นั้นจะเป็นกราฟที่แสดงถึงช่วงการทำงานของออปแอมป์ โดยจะแบ่งออกได้เป็น 3 ช่วงการทำงานด้วยนะครับ คือ
- ช่วงการทำงานในสภาวะอิ่มตัวด้านบวก หรือเรียกว่า (Positive Saturation)
- ช่วงการทำงานในสภาวะอิ่มตัวด้านลบ หรือเรียกว่า (Negative Saturation)
- ช่วงการทำงานในสภาวะเชิงเส้น หรือเรียกว่า (Linear Region)

และจากช่วงการทำงานของออปแอมป์ทั้ง 3 ช่วงการทำงานนั้น เราก็จะเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างแรงดันระหว่างขาอินพุท กับแรงดันเอาท์พุท โดยเราสามารถที่จะเขียนสมการแสดงความสัมพันธ์นี้ได้ครับ
สมการของช่วงการทำงานในสภาวะอิ่มตัวด้านบวก (Positive Saturation) ดังแสดงในสมการที่ 3

………(3)

สมการของช่วงการทำงานในสภาวะอิ่มตัวด้านลบ (Negative Saturation) ดังแสดงในสมการที่ 4

………(4)

สมการของช่วงการทำงานในสภาวะเชิงเส้น (Linear Region) ดังแสดงในสมการที่ 5 

………(5)

และจากสมการที่ได้กล่าวถึงนี้ก็คงจะทำให้เข้าใจถึงช่วงการทำงานของออปแอมป์มากขึ้นไปอีกนะครับ แต่ในทางปฏิบัตินั้นก็มีออปแอมป์อยู่หลายเบอร์ด้วยกันที่นิยมนำมาใช้งานในการออกแบบวงจรและออปแอมป์แต่ละเบอร์ก็จะมีค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญแตกต่างกันออกไป เพราะถือว่าเป็นส่วนสำคัญมากครับ (**ซึ่งในที่นี้จะขอยกตัวอย่างออปแอมป์ เบอร์ UA741**) ดังแสดงในรูปที่ 5 เพื่อที่จะได้เห็นถึงค่าพารามิเตอร์บ้างส่วนของออปแอมป์ครับ





รูปที่ 5 แสดงถึงค่าพารามิเตอร์บ้างส่วนของออปแอมป์ เบอร์ UA741

- พื้นฐานการคำนวณอุปกรณ์ออปแอมป์(Op-Amp)
ในหัวข้อนี้เราจะขอกล่าวถึงพื้นฐานการคำนวณที่สำคัญๆ ของตัวอุปกรณ์ออปแอมป์ (Op-Amp) นะครับ เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้นนะครับ ซึ่งในส่วนแรกนี้จะขอกล่าวถึงการคำนวณหาค่าต่างๆ ที่สำคัญของอุปกรณ์ออปแอมป์(Op-Amp) มาดูกันเลยนะครับ
จากสมการที่ 1 และสมการที่ 2 ถ้ากำหนดให้อุปกรณ์ออปแอมป์(Op-Amp) มีข้อมูลดังต่อไปนี้ก็จะสามารถแสดงวิธีการคำนวณหาค่าแรงดันเอาท์พุท ได้ดังนี้ครับ ดังแสดงใน รูปที่ 6


รูปที่ 6 แสดงการคำนวณหาค่าแรงดันเอาท์พุท ของอุปกรณ์ออปแอมป์

- คำนวณหาค่าแรงดันระหว่างขาอินพุท โดยใช้สมการที่ 1



- คำนวณหาค่าแรงดันเอาท์พุท โดยใช้สมการที่ 2



จากการคำนวณก็จะเห็นได้ว่าค่าแรงดันเอาท์พุท ที่ได้นั้นมีค่าสูงมากครับ คือ 200,000V ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้ครับ เพราะว่าแรงดันเอาท์พุท ที่จะได้ออกมานั้นไม่มีทางมากไปกว่าแรงดัน และ ดังนั้นก็สามารถที่จะสรุปได้ว่าค่าแรงดันเอาท์พุท นั้นจะมีค่าประมาณ นั้นเองครับ
และในส่วนที่สองนี้ก็จะขอกล่าวถึงการคำนวณหาค่าแรงดันระหว่างขาอินพุท ซึ่งจากสมการที่ 2 ถ้ากำหนดให้อุปกรณ์ออปแอมป์(Op-Amp) มีข้อมูลดังแสดงในรูปที่ 10


รูปที่ 7 แสดงการคำนวณหาค่าแรงดันระหว่างขาอินพุท ของอุปกรณ์ออปแอมป์

- คำนวณหาค่าแรงดันระหว่างขาอินพุท โดยใช้สมการที่ 2



จากการคำนวณก็จะเห็นได้ว่าถ้าอุปกรณ์อุปกรณ์ออปแอมป์ มีค่าแรงดันระหว่างขาอินพุท เท่ากับ ก็จะทำให้เราได้ค่าแรงดันเอาท์พุท ออกมามีค่าเท่ากับ ได้นั้นเองครับ ซึ่งการที่จะนำออปแอมป์ไปใช้งานนั้นต้องเข้าใจถึงการทำงานของตัวออปแอมป์นะครับ เพื่อที่จะได้นำออปแอมป์ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้นเองครับ

- พื้นฐานการออกแบบวงจรด้วยอุปกรณ์ออปแอมป์(Op-Amp)
ในส่วนของหัวข้อนี้ก็จะขอกล่าวถึงพื้นฐานการออกแบบวงจรด้วยอุปกรณ์ออปแอมป์ (Op-Amp) นะครับ โดยจะได้นำเอาหลักการทำงานและคุณสมบัติของอุปกรณ์ออปแอมป์ (Op-Amp) ที่กล่าวไว้ในตอนต้นมาใช้ในการสร้างวงจรต่างๆ กันดูนะครับ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในอุปกรณ์ออปแอมป์ (Op-Amp) นี้มากขึ้นนะครับ มาดูกันเลยนะครับ
วงจรที่จะขอกล่าวก็คือวงจรตามสัญญาณแรงดัน (Voltage Follower) ,วงจรขยายสัญญาณแบบกลับเฟส(Inverting Amplifier) และวงจรขยายสัญญาณแบบไม่กลับเฟส(Non-Inverting Amplifier) มาดูกันเลยนะครับ

- การออกแบบวงจรตามสัญญาณแรงดัน (Voltage Follower) มีวิธีการออกแบบดังนี้
จากรูปวงจรดังแสดงในรูปที่ 8 เป็นวงจรตามสัญญาณแรงดัน (Voltage Follower) ซึ่งในการออกแบบวงจรนี้จะขอกำหนดค่าต่างๆ ดังนี้
กำหนดให้ - แรงดัน ที่ป้อนให้วงจรมีค่าเท่ากับ 
- แรงดันอินพุท ที่ป้อนให้วงจรมีค่าเท่ากับ 
- และวงจรนี้ใช้ออปแอมป์(Op-Amp) เบอร์ 

ซึ่งจากข้อมูลที่กำหนดให้มานั้นเราจะทำการหาค่าแรงดันเอาท์พุท ที่จะได้จากวงจรว่ามีค่าเท่าไรครับ


รูปที่ 8 วงจรตามสัญญาณแรงดัน (Voltage Follower)

มาเริ่มการวิเคราะห์วงจรที่จะออกแบบกันเลยนะครับ เพื่อให้ได้สูตรที่จะใช้ในการคำนวณต่อไปครับ ซึ่งถ้าดูจากวงจรในรูปที่ 8 เราก็จะเห็นว่าสัญญาณแรงดันทางด้านเอาท์พุทนั้นจะถูกป้อนกลับเข้ามาที่ขา Inverting หรือขา ของออปแอมป์ทางด้านอินพุทครับ โดยจะเห็นว่าออปแอมป์ที่เราใช้นี้เป็นออปแอมป์เบอร์ UA741 ซึ่งจะมีค่าอัตราขยายแรงดันลูปเปิด เท่ากับ 200,000 นั้นเองครับ โดยในที่นี้จะกำหนดให้แรงดันอินพุท มีค่าเท่ากับ โดยที่ค่าแรงดันเอาท์พุท นั้นจะมีค่าที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ค่าแรงดันระหว่างขาอินพุท นั้นมีค่าเป็น และก็จะทำให้แรงดันอินพุทนั้นมีค่าเท่ากับแรงดันเอาท์พุทนั้นเองครับ ซึ่งทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้ก็สามารถที่จะเขียนสมการได้สมการที่ 6 และสมการที่ 7 ครับ


………(6)

………(7)

และเมื่อทำการแทนสมการที่ 7 ลงในสมการที่ 6 ก็จะได้สมการที่ 8 

………(8)

และถ้าพิจารณาดูจากสมการที่ 8 ก็พบว่าค่าอัตราขยายแรงดันลูปเปิด ที่ใช้นั้นมีค่าเท่ากับ 200,000 ซึ่งเป็นค่าที่มาก ดังนั้นจึงส่งผลให้ มีค่าน้อยมากๆ หรือมีค่าเป็นศูนย์นั้นเองครับ ซึ่งก็สามารถที่จะเขียนสมการได้ดังสมการที่ 9 นั้นเองครับ

………(9)

ดังนั้นเมื่อทำการแทนค่าก็จะได้แรงดันเอาท์พุท เท่ากับ 



เป็นอย่างไรบ้างครับพอที่จะเข้าใจถึงการออกแบบวงจรตามสัญญาณแรงดัน (Voltage Follower) กันแล้วนะครับ ซึ่งเป็นวงจรหนึ่งที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ครับ ถ้าอย่างไรก็ต้องลองออกแบบวงจรและลองนำไปใช้งานดูนะครับ


- การออกแบบวงจรขยายสัญญาณแบบกลับเฟส(Inverting Amplifier) มีวิธีการออกแบบดังนี้


รูปที่ 9 วงจรขยายสัญญาณแบบกลับเฟส (Inverting Amplifier)

จากรูปวงจรดังแสดงในรูปที่ 9 เป็นวงจรขยายสัญญาณแบบกลับเฟส (Inverting Amplifier) ซึ่งในการออกแบบวงจรนี้จะขอกำหนดค่าต่างๆ ดังนี้
กำหนดให้ - แรงดัน ที่ป้อนให้วงจรมีค่าเท่ากับ 
- ตัวต้านทาน มีค่าเท่ากับ 
- ตัวต้านทาน มีค่าเท่ากับ 
- แรงดันอินพุท ที่ป้อนให้วงจรมีค่าเท่ากับ 
- และวงจรนี้ใช้ออปแอมป์(Op-Amp) เบอร์ 

ซึ่งจากข้อมูลที่กำหนดให้มานั้นเราจะทำการหาค่าแรงดันเอาท์พุท ที่จะได้จากวงจรว่ามีค่าเท่าไรครับ มาเริ่มการวิเคราะห์วงจรที่จะออกแบบกันเลยนะครับ เพื่อให้ได้สูตรที่จะใช้ในการคำนวณต่อไปครับ ซึ่งถ้าดูจากวงจรในรูปที่ 9 เราก็จะเห็นว่าวงจรนี้จะให้สัญญาณแรงดันที่กลับเฟสนั้นเองครับ โดยสัญญาณแรงดันทางด้านเอาท์พุทนั้นจะมีความต่างเฟสไปจากสัญญาณแรงดันทางด้านอินพุทอยู่ 180 องศานั้นเองครับ และถ้าพิจารณาที่ขั้วแรงดัน ก็จะพบว่ามีค่าแรงดันเท่ากับศูนย์ครับ และในส่วนของตัวต้านทาน และตัวต้านทาน นั้นก็จะทำหน้าที่เป็นวงจรแบ่งค่าแรงดันที่เกิดขึ้นระหว่างค่าแรงดันเอาท์พุท กับค่าแรงดันอินพุท นั้นเองครับ ซึ่งทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้ก็สามารถที่จะเขียนสมการได้สมการที่ 10 สมการที่ 11 และสมการที่ 12 ครับ

………(10)

………(11)

………(12)

ดังนั้นเมื่อทำการแทนค่าลงในสมการที่ 10 ก็จะได้แรงดันเอาท์พุท เท่ากับ 



และถ้าจะหาค่าของกระแสที่ไหลผ่านตัวต้านทาน ก็สามารถหาค่าได้โดยใช้สมการที่ 11 ก็จะได้กระแส เท่ากับ



และถ้าจะหาค่าของกระแสที่ไหลผ่านตัวต้านทาน ก็สามารถหาค่าได้โดยใช้สมการที่ 12 ก็จะได้กระแส เท่ากับ



เป็นอย่างไรบ้างครับพอที่จะเข้าใจถึงการออกแบบวงจรขยายสัญญาณแบบกลับเฟส (Inverting Amplifier) กันแล้วนะครับ ซึ่งก็เป็นวงจรหนึ่งที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ครับ ถ้าอย่างไรก็ต้องลองออกแบบวงจรและลองนำไปใช้งานดูนะครับ


- การออกแบบวงจรขยายสัญญาณแบบไม่กลับเฟส(Non-Inverting Amplifier) มีวิธีการออกแบบดังนี้


รูปที่ 10 วงจรขยายสัญญาณแบบไม่กลับเฟส(Non-Inverting Amplifier)

จากรูปวงจรดังแสดงในรูปที่ 10 เป็นวงจรขยายสัญญาณแบบไม่กลับเฟส (Non-Inverting Amplifier) ซึ่งในการออกแบบวงจรนี้จะขอกำหนดค่าต่างๆ ดังนี้
กำหนดให้ - แรงดัน ที่ป้อนให้วงจรมีค่าเท่ากับ 
- ตัวต้านทาน มีค่าเท่ากับ 
- ตัวต้านทาน มีค่าเท่ากับ 
- แรงดันอินพุท ที่ป้อนให้วงจรมีค่าเท่ากับ 
- และวงจรนี้ใช้ออปแอมป์(Op-Amp) เบอร์ 

ซึ่งจากข้อมูลที่กำหนดให้มานั้นเราจะทำการหาค่าแรงดันเอาท์พุท ที่จะได้จากวงจรว่ามีค่าเท่าไรครับ มาเริ่มการวิเคราะห์วงจรที่จะออกแบบกันเลยนะครับ เพื่อให้ได้สูตรที่จะใช้ในการคำนวณต่อไปครับ ซึ่งถ้าดูจากวงจรในรูปที่ 9 เราก็จะเห็นว่าวงจรนี้จะให้สัญญาณแรงดันที่กลับเฟสนั้นเองครับ โดยสัญญาณแรงดันทางด้านเอาท์พุทนั้นจะมีความต่างเฟสไปจากสัญญาณแรงดันทางด้านอินพุทอยู่ 180 องศานั้นเองครับ และถ้าพิจารณาที่ขั้วแรงดัน ก็จะพบว่ามีค่าแรงดันเท่ากับศูนย์ครับ และในส่วนของตัวต้านทาน และตัวต้านทาน นั้นก็จะทำหน้าที่เป็นวงจรแบ่งค่าแรงดันที่เกิดขึ้นระหว่างค่าแรงดันเอาท์พุท กับค่าแรงดันอินพุท นั้นเองครับ ซึ่งทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้ก็สามารถที่จะเขียนสมการได้สมการที่ 13 สมการที่ 14 และสมการที่ 15 ครับ

………(13)

………(14)

………(15)

ดังนั้นเมื่อทำการแทนค่าลงในสมการที่ 13 ก็จะได้แรงดันเอาท์พุท เท่ากับ 



และถ้าจะหาค่าของกระแสที่ไหลผ่านตัวต้านทาน ก็สามารถหาค่าได้โดยใช้ สมการที่ 14 ก็จะได้กระแส เท่ากับ



และถ้าจะหาค่าของกระแสที่ไหลผ่านตัวต้านทาน ก็สามารถหาค่าได้โดยใช้ สมการที่ 15 ก็จะได้กระแส เท่ากับ



เป็นอย่างไรบ้างครับพอที่จะเข้าใจถึงการออกแบบวงจรขยายสัญญาณแบบไม่กลับเฟส (Non-Inverting Amplifier) กันแล้วนะครับ ซึ่งก็คงจะเป็นอีกวงจรหนึ่งที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้ครับ ถ้าอย่างไรก็ต้องลองออกแบบวงจรและลองนำไปใช้งานดูนะครับ…..?????

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วงจรไฟฟ้า

 วงจรไฟฟ้า เป็นการนำเอาสายไฟฟ้าหรือตัวนำไฟฟ้าที่เป็นเส้นทางเดินให้กระแสไฟฟ้าสามารถไหล
ผ่านต่อถึงกันได้นั้นเราเรียกว่า วงจรไฟฟ้า การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนที่อยู่ภายในวงจรจะเริ่มจาก
จากแหล่งจ่ายไฟไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้า ดังการแสดงการต่อวงจรไฟฟ้าเบื้องต้นโดยการต่อแบตเตอรี่
ต่อเข้ากับหลอดไฟ หลอดไฟฟ้าสว่างได้เพราะว่ากระแสไฟฟ้าสามารถไหลได้ตลอดทั้งวงจรไฟฟ้าและ
เมื่อหลอดไฟฟ้าดับก็เพราะว่ากระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลได้ตลอดทั้งวงจรเนื่องจากสวิตซ์เปิดวงจร
ไฟฟ้าอยู่นั่นเองวงจรไฟฟ้า หมายถึง ทางเดินของกระแสไฟฟ้าซึ่งไหลมาจากแหล่งกำเนิดผ่านตัวนำ
และเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลด แล้วไหลกลับไปยัง  แหล่งกำเนิดเดิม

     วงจรไฟฟ้าประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 3 ส่วน คือ     1. แหล่งกำเนิดไฟฟ้า หมายถึง แหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าไปยังวงจรไฟฟ้า เช่นแบตเตอรี่
     2. ตัวนำไฟฟ้า หมายถึง สายไฟฟ้าหรือสื่อที่จะเป็นตัวนำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปยังเครื่องใช้
้ไฟฟ้า ซึ่งต่อระหว่างแหล่งกำเนิดกับเครื่องใช้ไฟฟ้า
     3. เครื่องใช้ไฟฟ้า หมายถึง เครื่องใช้ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานรูปอื่นซึ่งจะ
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โหลด  สวิตซ์ไฟฟ้านั้นเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้า มีหน้าที่ในการควบคุมการ
ทำงานให้มีความสะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ถ้าไม่มีสวิตซ์ไฟฟ้าก็จะไม่มีผลต่อการทำงานวงจร
ไฟฟ้าใดๆ เลย

     การต่อวงจรไฟฟ้าสามารถแบ่งวิธีการต่อได้ 3 แบบ คือ     1. วงจรอนุกรม เป็นการนำเอาเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดหลายๆ อันมาต่อเรียงกันไปเหมือนลูกโซ่
กล่าวคือ ปลายของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่ 1 นำไปต่อกับต้นของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่ 2 และต่อเรียงกันไป
เรื่อยๆ จนหมด แล้วนำไปต่อเข้ากับแหล่งกำเนิด การต่อวงจรแบบอนุกรมจะมีทางเดินของกระแส
ไฟฟ้าได้ทางเดียวเท่านั้น ถ้าเกิดเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวใดตัวหนึ่งเปิดวงจรหรือขาด จะทำให้วงจรทั้งหมด
ไม่ทำงาน
     คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรอนุกรม
     1. กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านเท่ากันตลอดวงจร
     2. แรงดันไฟฟ้าตกคร่อมส่วนต่างๆ ของวงจร เมื่อนำมารวมกันแล้วจะเท่ากับแรงดันไฟฟ้าที่แหล่ง
กำเนิด
     3. ความต้านทานรวมของวงจร จะมีค่าเท่ากับผลรวมของความต้านทานแต่ละตัวในวงจรรวมกัน
     2. วงจรขนาน เป็นการนำเอาต้นของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกๆ ตัวมาต่อรวมกัน และต่อเข้ากับแหล่ง
กำเนิดที่จุดหนึ่ง นำปลายสายของทุกๆ ตัวมาต่อรวมกันและนำไปต่อกับแหล่งกำเนิดอีกจุดหนึ่งที่
หลือ ซึ่งเมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละอันต่อเรียบร้อยแล้วจะกลายเป็นวงจรย่อยกระแสไฟฟ้าที่ไหลจะ สามารถไหลได้หลายทางขึ้นอยู่กับตัวของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่นำมาต่อขนานกัน ถ้าเกิดในวงจรมีเครื่อง
ใช้ไฟฟ้าตัวหนึ่งขาดหรือเปิดวงจร เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เหลือก็ยังสามารถทำงานได้ ในบ่านเรือนที่อยู่
ู่อาศัยปัจจุบันจะเป็นการต่อวงจรแบบนี้ทั้งสิ้น

       คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรขนาน     1. กระแสไฟฟ้ารวมของวงจรขนาน จะมีค่าเท่ากับกระแสไฟฟ้าย่อยที่ไหลในแต่ละสาขาของวงจร
รวมกัน
     2. แรงดันไฟฟ้าตกคร่อมส่วนต่างๆ ของวงจร จะเท่ากับแรงดันไฟฟ้าที่แหล่งกำเนิด
     3. ความต้านทานรวมของวงจร จะมีค่าน้อยกว่าความต้านทานตัวที่น้อยที่สุดที่ต่ออยู่ในวงจร
     3. วงจรผสม เป็นวงจรที่นำเอาวิธีการต่อแบบอนุกรม และวิธีการต่อแบบขนานมารวมให้เป็นวงจร
เดียวกัน ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะของการต่อได้  2 ลักษณะดังนี้
     3.1 วงจรผสมแบบอนุกรม-ขนาน เป็นการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดไปต่อกันอย่างอนุกรมก่อน
แล้วจึงนำไปต่อกันแบบขนานอีกครั้งหนึ่ง
     3.2 วงจรผสมแบบขนาน-อนุกรม เป็นการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดไปต่อกันอย่างขนานก่อน
แล้วจึงนำไปต่อกันแบบอนุกรมอีกครั้งหนึ่ง

       คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรผสม
      เป็นการนำเอาคุณสมบัติของวงจรอนุกรม และคุณสมบัติของวงจรขนานมารวมกัน ซึ่งหมาย
ความว่าถ้าตำแหน่งที่มีการต่อแบบอนุกรม ก็เอาคุณสมบัติของวงจรการต่ออนุกรมมาพิจารณา ตำแหน่ง ใดที่มีการต่อแบบขนาน ก็เอาคุณสมบัติของวงจรการต่อขนานมาพิจารณาไปทีละขั้นตอน

 ส่วนประกอบวงจรไฟฟ้า
  วงจรไฟฟ้ามีส่วนประกอบ (component) ที่สำคัญ 2 ส่วน คือ แหล่งกำเนิด หรือแหล่งจ่ายไฟฟ้า (sources) และตัวรับพลังงาน ซึ่งมักเรียกว่า โหลด (load) หลอดไฟฟ้า ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง ของโหลด

     แหล่งจ่ายไฟฟ้า

     แหล่งจ่ายไฟฟ้า จะจ่ายแรงดันและกระแสไฟฟ้าเข้าสู่วงจรพร้อมกันรวมทั้งมีความต้านทานภายใน จำนวนหนึ่งด้วย หากนำแหล่งจ่ายไฟฟ้าจริงมาใช้ในการวิเคราะห์วงจรจะทำให้เข้าใจ ยากดังนั้นใน การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า จึงสมมติให้แหล่งจ่ายไฟฟ้า จ่ายแรงดันและกระแสไฟฟ้าเป็นค่าคงที่และเป็น
อิสระต่อกัน แหล่งจ่ายไฟฟ้า ประเภทนี้เรียกว่า แหล่งจ่ายไฟฟ้าในอุดมคติ

     ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
     1. แหล่งจ่ายไฟฟ้าอิสระ (Independent Sources) เช่น แบตเตอรี ถ่านไฟฮาย เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ทั้งกระแสตรงและกระแสสลับ เป็นต้น แบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ แหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้า
(Voltage Sources) และ แหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้า (Current Sources)

     2. แหล่งจ่ายไฟฟ้าที่ถูกควบคุม (Controlled Sources) อาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแหล่งจ่าย
ไฟฟ้าที่ต้องอาศัยแหล่งจ่ายไฟฟ้าอื่น ตัวอย่างเช่น amplifier

สัญญาณอิเล็กทรอนิกส

 สัญญาณอิเล็กทรอนิกส ( electronic signal ) หรือเรียกชื่อได้อีกชื่อหนึ่งว่า สัญญาณไฟฟ้า
หมายถึง ค่าของกระแสไฟฟ้า ความต่างศักย์ไฟฟ้า หรือพลังงานไฟฟ้าที่ไหลในวงจรนั้นๆ แล้วสามารถ วัดค่าดังกล่าวได้ด้วยอุปกรณ์ต่างๆ เช่น มัลติมิเตอร์ แอมมิเตอร์ โวลต์มิเตอร์ ออสซิลโลสโคป เป็นต้น
     โดยทั่วไปจะมีการแบ่งสัญญาณไฟฟ้าออกเป็น 2 แบบ ตามลักษณะของสัญญาณที่
วัดได้คือ

     1. สัญญาณอนาลอก ( analog signal ) เป็นสัญญาณไฟฟ้าที่มีลักษณะต่อเนื่อง คล้ายคลื่น
เชือกที่สะบัดขึ้นลงสัญญาณอนาลอกเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่ถูกรบกวนให้เปลี่ยนแปลงได้ง่าย และไม่
นิยมใช้สัญญาณชนิดนี้ในการส่งสัญญาณเพื่อการสื่อสารนที่ต้องการความแม่นยำสูง โดยมักใช้วิทยุ
สื่อสารระยะใกล้ ใช้ในระบบวิทยุ A.M. และ F.M. เป็นต้น

     2. สัญญาณดิจิตอล (digital signal ) เป็นสัญญาณไฟฟ้าที่มีลักษณะไม่ต่อเนื่อง คล้ายขั้นบันได
สัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่นิยมใช้กันมาก เพราะเมื่อถูกรบกวน สัญญาณดิจิตอลจะเปลี่ยน
แปลงจากเดิมได้น้อย ตัวอย่างการประยุกต์ใช้สัญญาณดิจิตอลในเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆเช่น โทรศัพท์
เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์ นาฬิกาดิจิตอล เป็นต้น

ระบบอิเล็กทรอนิกส์

 •  สัญญาณขาเข้า ได้รับจาก เครื่องรับรู้ ( เซนเซอร์ ) เพื่อแปลงสัญญาณทางฟิสิกส์ ( เช่น อุณหภูมิ ความดัน ระยะทาง เป็นต้น ) ให้กลายเป็นสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น กระแส และ แรงดันไฟฟ้า

     •  ส่วนวงจรประมวลผลสัญญาณ เป็นวงจรที่ประกอบขึ้นจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆเืพื่อ
แปลง สัญญาณขาเข้าให้อยู่ในรูปที่ต้องการ

     •  สัญญาณขาออก จะถูกส่งไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ที่จะแปลงสัญญาณทางไฟฟ้าเป็นสัญญาณ
ทางฟิสิกส์ที่ต้องการ เช่น การหมุน การแสดงผล เสียง แสง เป็นต้น 

     ตัวอย่างเช่น โทรทัศน์ นั้นสามารถแบ่งได้ว่าสัญญาณจากเสาอากาศถือว่าเป็นสัญญาณขาเข้า วงจรในโทรทัศน์ประมวลผลสัญญาณเหล่านั้นเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่เหมาะสมเช่น ความสว่าง สีและ เสียง เป็นต้น สัญญาณไฟฟ้าของภาพที่ประมวลผลแล้วจะถูกส่งเป็นสัญญาณขา ออกไปยังจอภาพ
โทรทัศน์เพื่อแสดงต่อผู้ชม ส่วนสัญญาณไฟฟ้าของเสียงจะถูกส่งมายังลำโพงเพื่อให้ผู้ชมได้ยิน
เช่นกัน 

วิทยุออนไลด์(OnlineRadio)

radioonlineปัจจุบันเทคโนโลยีด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม มีความสามารถสูงมากกว่าหลายปีก่อน ย้อนหลังไปสัก 8-10 ปีที่แล้ว เราเล่นอินเทอร์เน็ต ยังหมุนโมเด็ม 64K กันอยู่เลย กว่าจะส่ง e-Mail เสร็จ ก็รอกันเกือบนาที จะส่งภาพขนาดไม่ใหญ่มากแนบไปกับ e-mail ก็รอกันเป็นนานกว่าจะเสร็จ ความคิดจะดูหนังออนไลด์ ดูทีวีออนไลด์ แทบจะเป็นไปไม่ได้ ก็แค่ส่งภาพเล็กๆ ยังต้องรอกันตั้งนาน แล้วจะดูหนัง หรือ ฟังวิทยุสักช่องได้อย่างไร
แต่ปัจจุบัน มันง่ายเสียเหลือเกิน ใครที่ไม่เคยฟังวิทยุผ่านเว็บ หรือดูหนัง หรือแม้แต่ดูทีวีผ่านเว็บ คุณรู้ตัวใหม่?? ว่าหลงยุคและเชย ปัจจุบันเราแทบจะไม่ต้องซื้อหนังสือพิมพ์ที่เป็นกระดาษกันโดยดูจากยอดขายของเจ้าของหนังสือพิมพ์ หรือโรงพิมพ์ ที่เริ่มลดลงมา เพราะคนเริ่มหันมาอ่านหนังสือพิมพิมพ์บนเว็บหรือหนังสือพิมพ์ออนไลด์เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ที่สำคัญ คนหันมาให้ความสนใจและฟังข่าวทางวิทยุออนไลด์กันมากขึ้นเช่นกัน ทำไมเป็นเช่นนั้น ก็อย่างที่เรารู้กัน
เทคโนโลยีด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคม มีการพัฒนาแบบก้าวกระโดด โดยเฉพาะด้านอินเทอร์ที่เติมโตอย่างไม่หยุดโดยเฉพาะความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลและขนาดของช่องสัญญาณหรือ Bandwidth ที่มากขึ้นสามารถส่งผ่านข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ และหลากหลายมากขึ้น ที่สำคัญคือการพัฒนาโปรแกรมที่ให้บริการผ่านเว็บหรือแบบออนไลด์มีมากและมีประสิทธิภาพที่ดี รวมถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการมีสมรรถนะที่สูงขึ้นกว่าแต่ก่อน จึงสนันสนุนให้การให้บริการสื่อสมัยใหม่ที่กล่าวมาเกิดขึ้นได้ง่ายมาก ปัจจุบันเราสามารถเป็นเจ้าของรายสถานนีวิทยุ หรือสถานีข่าวต่างๆ ง่ายกว่าแต่ก่อนมาก โดยไม่ต้องไปตั้งสถานีภาคพื้นดินให้ยุ่งยากอีกต่อไป ครับ ผมกำลังพูดถึงการทำสถานีวิทยุออนไลด์ มาดูกันว่ามันคืออะไร

วิทยุออนไลน์ (Radio Online) คือการ Streaming Audio หรือการแพร่กระจายสัญญาณเสียงจากเครื่องของท่านเองผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ไปยังผู้ฟังได้ทั่วโลก ซึ่งท่านสามารถเปิดเพลงจากคอมพิวเตอร์หรือจะนำสัญญาณเสียงจากภายนอกก็ได้ โดยที่ท่านสามารถจัดผังรายการได้เองตามที่ต้องการ (ที่มา:เว็บไซต์http://www.serverradio.net/radioonline.html.,20/10/2552)
      
        ในการทำสถานีวิทยุออนไลด์(Online Radio) ต้องใช้เครื่องมือ อุปกรณ์และเครือข่ายคุณภาพสูง มีเสถียรภาพ เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านโครงข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง โดยมีเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายให้บริการ(Streaming Server) ในรูปแบบ Streaming Audio โดยแยกใช้งาน Streaming Audio เพื่อทำวิทยุออนไลน์โดยเฉพาะ จะไม่ใช้งานร่วมกับโฮสติ้ง เพื่อประสิทธิภาพในการส่งสัญญาณเสียงทำให้สามารถรองรับคนฟังได้หลายพันคนพร้อม ๆ กันโดยสัญญาณคมชัดและไม่กระตุก

       เราสามารถเปิดสถานีวิทยุออนไลน์ได้ ด้วยงบประมาณที่แสนถูก ทำไม่ยากอย่างที่คิด... เพียงแค่ 3 ขั้นตอน... เหมาะสำหรับบุคคลที่สนใจเป็น DJ เว็บไซต์ทั่วไป เจ้าของสถานี วิทยุ สถานีวิทยุชุมชน ที่ต้องการสร้างสถานีออนไลน์ผ่านเว็บไชต์ เพื่อขยายฐานผู้ฟังให้รับฟังได้ทั่วโลก หรือนักจัดรายการ หน่วยงานต่างๆ อาทิเช่น เทศบาล, อบจ., อบต. ที่ต้องการเผยแพร่ข่าวสาร และความบันเทิงให้แด่ประชาชนในพื้นที่ และ/หรือ สถานศึกษา ที่ต้องการสนับสนุนให้ นักเรียน นักศึกษา ได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติ ด้านโสตทัศนศึกษา โดยการจัดรายการวิทยุโรงเรียน ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ตฯ ได้